วันพฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ความเป็นมาของรถโฟล์คลิฟท์

ประวัติและความเป็นมาของ รถโฟล์คลิฟท์
          ช่วงสงครามโลกครั้งที่1 ได้ผลักดันให้มีการพัฒนาการยกแท่นรองฐานปืนโดยช้ระบบไฟฟ้า แต่ด้วยความจำเป็นและสะดวกต่อการใช้งาน ได้มีการพัฒนาเพิ่มเติมในส่วนของการยกย้ายลูกระเบิดด้วยความนิ่มนวลปลอดภัยยิ่งขึ้น ซึ่งมีการพัฒนาใช้ทั้งระบบแมคคานิค และรถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้าขึ้นมาด้วย
           ในรุ่นแรกๆทีเดียว รถโฟล์คลิฟท์จะเป็นแบบง่าย ๆ ไม่มีระบบไฮโรลิค หรือแม้กระทั่งงายกแบบปัจจุบัน แต่จะใช้ระบบรอก ขับเคลือ่นดึงโซ่ยกขึ้นมา ได้ระดับความสูงไม่มาก ,การยึดชิ้นงานก็ใช้วธีการผูกมัดแบบ และไม่มีคนนั่งขับแต่อย่างใด
           ส่วนรถโฟล์คลิฟนั่งขับที่สามารถค้นพบ มีขึ้นในปี คศ1917 ของ  Clark เรียกชื่อเป็น Truck Tracter ซึ่งพัฒนาขึ้นมาใช้เฉพาะ Clark’ axle plant ซึ่งเป็บรูปแบบเฉพาะเท่านั้น ต่อมาใน คศ.1923 บริษัท Yale ก็ผลิต รถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า โดยการเพิ่มอุปกรณ์ที่เรียกว่า "งายกน้ำหนัก" ขึ้นมาเป็นครั้งแรก ซึ่งระบบการทำการเคลื่อนที่ยก ขึ้น-ลง ใช้ระบบ Ratchet & Pinion (ระบบเฟืองมีสปริงรองหมุน)
          หลังจากนั้นความนิยมการใช้ รถโฟล์คลิฟท์ ยังขึ้นๆลงๆ จนกระทั่งมีการจัดสร้าง พาเลท เพื่อรองรับสิ่งเป็นแบบมาตราฐานขึ้นในปี คศ.1930 จากนั้นเองการพัฒนา รถโฟล์คลิฟท์ จึงมีมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ปัจจัยสำคัญอีกอย่างที่ก้าวกระโดดของโฟล์คลิฟท์ คือ การเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งในปี คศ.1939 มีความต้องเครื่องอุปโภค และยุทโธปกรณ์สูงขึ้นมากจาก 500 หน่วยขนย้าย เป็น 23,500 หน่วย ในช่วงปีหลังของสงครามโลกครั้งที่สองจึงต้องการเร่งพัฒนาการยกขนย้ายโดยโฟล์คลิฟท์อย่างมากในช่วงดังกล่าวด้วย โดยเฉพาะใน รถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้าสามารถพัฒนาแบตเตอรรี่ให้สามารถทำงานต่อเนื่องกันได้ถึง 8 ชม.โดยไม่การชาร์จแบตใหม่
         ในระยะหลังมีการเน้นเรื่องความปลอดภัยมากขึ้น เนื่องจากพบว่ามีของตกลงบนพนักงานขับรถ จนกระทั่งช่วงปี คศ.1950 เป็นต้นมาจนถึงช่วงก่อนถึงปี คศ. 1960 บริษัทผู้ผลิต รถโฟล์คลิฟท์ได้มีการพัฒนากรงสำหรับนั่งขับเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุเกิดขึ้นกับคนขับ และได้กำหนดเป็นอุปกรณ์มาตราฐานที่จะต้องมีในปี 1980 เป็นต้นมา
           นอกเหนือจากเรื่องดังกล่าว ได้มีพัฒนาเพิ่มขึ้นในส่วนของการใช้พลังงานเพื่อความประหยัด โดยการใช้แก๊ส(LPG)ทดแทนน้ำมัน และผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการลดปัญหาเรื่องควันไอเสียที่รบกวนการทำงานของพนักงานในพื้นที่ทำงาน 
           ปัจจุบันการพัฒนาการใช้เครื่องยนต์โฟล์คลิฟท์ โดยเริ่มการนำเครื่องยนต์ Hydrogen fuel cell มาทดลองใช้งานแล้ว ตั้งแต่ช่วงต้นปี คศ.2000 เป็นต้นมา คาดว่าอาจจะทำตลาดในเร็ววันนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น